วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
 จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล


โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์      ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

                     ปฐมเหตุแห่งการนำเสนอบทความนี้มาจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ) ที่ กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มีการจัดระบบจูงใจ ให้คนทำดี ได้ดี มีรางวัลตอบแทน เป็นการพิจารณาให้ความดีความชอบของข้าราชการ ประจำปี ที่ทำงานด้านส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมของสถานศึกษา จึงต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นว่างานคุณธรรม ศีลธรรมคืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารโครงการ กลุ่มจัดการเรียนการสอน และกลุ่มจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                   นอกจากนี้  คำว่า    คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม  จรรยาบรรณ  ธรรมาภิบาล    และสมรรถนะ มักมีผู้นำไปใช้ในความหมายที่แตกต่าง สับสน และไม่ตรงกับความหมายที่แท้จริง ดังนั้นการทำความเข้าใจตั้งแต่ รากศัพท์ ความหมายและประโยชน์ในการนำไปใช้    จะช่วยให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี                     
              เป้าหมายปลายทาง 
              คุณธรรม (Moral) ศีลธรรม (Moral)  จริยธรรม  (Ethics)และ จรรยาบรรณ (Code of Conduct)มีเป้าหมายใช้เพื่อการควบคุมตนเอง และส่งผลต่อ พฤติกรรมของบุคคลนั้น  ส่วนธรรมาภิบาล (Good Governance) และ ขีดสมรรถนะ (Competency) ใช้เพื่อเป็นกลไกควบคุม โครงสร้าง ระบบ และกระบวนการส่งผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กร
คุณธรรม  (Moral / Virtue)  
คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
                      สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม (Virtue)   แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2.  คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

จริยธรรม (Ethics)

 จริยธรรม = จริย + ธรรมะ  คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง  
          ก่อให้เกิดความ  สงบเรียบร้อยในสังคม      รวมสรุปว่าคือ   ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
          จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม


ศีลธรรม (Moral)

        1.  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
        2.  หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

ธรรมาภิบาล” (Good Governance)
    ธรรมาภิบาล  คือ ธรรมะ + อภิบาล  หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน  มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน
            สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ 
  1. การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
  2.  ธรรมาภิบาล  มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
                - การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)
            - นิติธรรม (Rule of law)
            - ความโปร่งใส (Transparency)
            - การตอบสนอง (Responsiveness)
            - การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)
            - ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)
            - ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)
            - ภาระรับผิดชอบ (Accountability
ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King)
             จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน
          ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้
                - ทาน คือ การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ
                - ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ
                - บริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
                - ความซื่อตรง คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
                - ความอ่อนโยน คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส
                - ความเพียร คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
                - ความไม่โกรธ คือ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
          - ความไม่เบียดเบียน คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
                - ความอดทน คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทนต่อสิ่งทั้งปวง
                - ความยุติธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก

จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)
จรรยาบรรณ หมายถึง   ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม
1.    ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
2.    หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ
จรรยาบรรณวิชาชีพ  (Code of Ethics )
n    จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ   *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
n    จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)
ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
n    ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
n    ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
n    ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
n    ๓. พัฒนาวิชาชีพ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
n    ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
n    ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
n    ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
n    ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
n    ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
n    ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
n    ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
n    ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
n    ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย


จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ
*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย 
*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย  เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง 
* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น
* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง
*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา  ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ
*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ   
*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ 
* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท
*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ   
* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ

ขีดสมรรถนะ (Competency)
ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ
ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
n    เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
n    คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม  (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)
n    สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้
n    ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง
n    มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน
n    มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์
สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย
n    มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน
n    1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
n    2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
n    3. มาตรฐานการปฏิบัติตน